ระบบตรวจสอบและบันทึกเส้นทางเดินเรือผ่านระบบ AIS

       ระบบ AIS ( Automatic Identification System ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า UAIS (Universal Automatic Identification System) เป็นระบบหรืออุปกรณ์แสดงตนอัตโนมัติ ที่ใช้สำหรับในกิจการเดินเรือภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้เรือเดินทะเลระหว่างประเทศขนาดตั้งแต่ 300 ตันกรอสขึ้นไป และเรือเดินทะเลที่ไม่ได้เดินทาง ระหว่างประเทศขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบ AIS ซึ่งอยู่ภายใต้กำหนดของ IMO ( International Maritime Organization ) ด้วยการส่งสัญญาณวิทยุย่าน VHF แบบอัตโนมัติต่อเนื่อง เพื่อแจ้งข้อมูลและตำบลที่ของตัวเองให้กับเครื่อง AIS อื่นๆ ที่ติดอยู่กับเรือหรือสถานีชายฝั่งใกล้เคียง กล่าวคือเป็นระบบสื่อสาร เพื่อแจ้งแสดงตัวระหว่าง เรือกับเรือ และ เรือกับสถานีฝั่ง เพื่อช่วยให้มีความปลอดภัยในการเดินเรือมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการควบคุมจราจรทางน้ำระบบ VTS ( Vessel Traffic Control System ) ในการตรวจตราเรือที่เดินทางอยู่ภายในบริเวณรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

       เครื่อง AIS เป็นระบบสอบถามและกระจายข่าวด้วยเทคโนโลยีพื้นฐานของ SOTDMA ( Self Organization Time Division Multiple Access ) ส่งกระจายสัญญาณภายใต้คลื่นวิทยุข่าย VHF Marine Band มีขีดความสามารถในการส่งข้อมูลต่าง ๆ ของเรือ เช่น ชื่อเรือ ตำแหน่งเรือปัจจุบัน เข็มเดินทาง ขนาดความยาวเรือ ความกว้างเรือ ประภทของเรือ กินน้ำลึก ข้อมูลของสินค้าอันตรายที่บรรทุกอยู่ โดยเครื่องGPS ของเรือจะทำการส่งค่าพิกัดตำบลที่ LAT/LONG รวมกับข้อมูลของเรือดังกล่าวจากเรือที่ติดตั้ง เครื่อง AIS ไปยังสถานีฝั่งหรือเรือที่อยู่ใกล้เคียง มีขีดความสามารถในการส่งข้อความได้มากถึง 1,000 ครั้งต่อ นาที และจะ update ข้อมูลตลอดเวลา โดยสามารถแสดงข้อมูล ที่รับได้บนเครื่องแผนที่อิเล็กทรอนิคส์ เช่น ECS หรือ ECDIS ได้ ภาพสัญลักษณ์นี้จะ บอกให้เรือทุกลำที่อยู่ในรัศมีของวิทยุ VHF ทราบตำบลที่และข้อมูลของเรือลำที่ติดตั้งเครื่อง AIS นั้นได้ตลอดเวลา สำหรับการติดตามและระมัดระวังมิให้เกิดอุบัติเหตุชนกัน หรือบอกข้อมูลเรือให้กับสถานีฝั่งที่ติดตั้งระบบ AIS หรือ VTS ใช้ในการควบคุมการสัญจรของเรือในร่องน้ำ หรือขณะเข้าออกจากท่าเทียบเรือ ซึ่งพื้นที่ครอบคลุมในการส่งสัญญาณของเครื่อง AIS ของเรือแต่ละลำจะอยู่ในรัศมีของระยะคลื่น VHF ขึ้น อยู่กับความสูงของเสาอากาศ โดยปกติจะมีรัศมีการทำงานประมาณ 20-25 ไมล์ทะเลจากเครื่อง AIS
(อ้างอิงจาก http://www.port.co.th/cs/internet/internetระบบ_AIS.html) ข้อมูลที่มีการรับ-ส่งในระบบ AIS ได้แก่


  • หมายเลข IMO Number
  • นามเรียกขานของเรือ
  • ชื่อเรือ (Vessel Name)
  • ชนิดของเรือ (Vessel Type)
  • ขนาดของเรือ (Dimension)
  • ตำแหน่งของเรือ (LAT/LONG) เวลาล่าสุด
  • ทิศทางการเดินเรือ (Course)
  • ความเร็วเรือ (Speed)
  • อัตราการเลี้ยว (RoT – Rate of Turn)
  • ทิศหัวเรือ (เข็มเรือจากเข็มทิศไยโร) (Heading)
  • อัตราการกินน้ำลึกของเรือ (Draught)
  • ชนิดของระวางสินค้า (Cargo Type)
  • จุดหมายปลายทาง (Destination)
  • วันเวลาที่จะเดินทางถึงจุดหมาย (ETA)


       สิ่งที่เราได้เกริ่นเริ่มต้นนั้นอาจจะกล่าวได้โดยสรุปว่าเราได้ตำแหน่ง และข้อมูลอื่น ๆ ของเรือตามที่ได้กล่าวข้างต้นมาในรูปแบบ Analog สัญญาณวิทยุ (VFH) จากนั้นระบบจะส่งช้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาถอดรหัสจากสัญญาณซึ่ง มาในแบบ Analog มาแสดงเป็นแผนที่ในลักษณะของ Digital บนระบบ Computer หรือ บนเครื่องแผนที่อิเล็กทรอนิคส์ เช่น ECS หรือ ECDIS โดยมีมาตราฐานในการถอดรหัสมาในแบบ NMEA เพื่อใช้ในการติดตามสถานะภาพเรือในปัจจุบัน นั้นคือที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Example NMEA Data Transaction

“คราวนี้เรามาเข้าเรื่องของเรากันครับ”

       จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้น และที่ผมได้สัมผัสการใช้งานระบบ AIS และ Radar ในประเทศไทยนั้น ผมคิดว่ายังไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรามาดูเหตุผลที่เรานำระบบ AIS มาใช้งานนั้นมีประโยชน์หลาย ๆ ด้านดังนี้
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือใกล้จะชนกัน
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีไม่ควรไป
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือหายไปจากการติดตาม
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือวิ่งเร็วกว่าที่กำหนด
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือเข้าในพื้นที่ประเทศแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือที่ถูก Lock พังงาแล้วยังถูกใช้งาน
  • แจ้งเตือนเมื่อเรือที่ถูกติดตามเป็นพิเศษเข้าในพื้นที่ที่กำหนด
       แต่จากที่ผมได้มีประสบการณ์ผ่านมาผมเห็นหลาย ๆ องค์กร นอกจากมีระบบ AIS แล้วยังมีการติดตั้งระบบ VTS ซึ่งมีแผนที่ ที่แสดงตำแหน่งของเรือมากมายในจอภาพ แล้วมีจะต้องมีพนักงานคอยติดตามดูข้อมูลทั้งหมดด้วยคน แต่จะสิ่งที่ผมคิดคือ “จะดีกว่าไหมที่เราควรจะมีระบบ AI ที่ช่วยทำงานแทนคน โดยจะช่วยวิเคราะห์ และแจ้งเตือนเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้อัตโนมัติ จากเงื่อนไข หรือกฎที่เราได้วางไว้” ซึ่งเงื่อนไข และกฏต่าง ๆ นั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ หรือตามตัวบทกฎหมายของประเทศ และที่ดียิ่งขึ้น คือถ้าเมื่อไรที่มีผู้ทำผิดกฎ เช่น ขับเรือเร็วกว่าที่กำหนด หรือเข้าไปในพื้นที่ต้องห้าม แล้วระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังมือถือของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด จากนั้นถ้ามีระบบออกเอกสารปรับเงินในการทำผิดกฏ ระบบสามารถส่งต่อข้อมูลในความผิดนั้นไปยังระบบที่เกี่ยวข้องให้อัตโนมติ หรือในกรณีที่เป็นขั้นตอนการทำงานปรกติเช่น การแจ้งเข้า หรือ ออกเรือระบบจะส่งข้อมูลเรือดังกล่าวไปยังระบบ แจ้งเข้าออกเรือให้อัตโนมัติด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นระบบจะทำการเก็บประวัติการเดินทางของเรือทุก ๆ ลำเพื่อใช้เป็นทำรายงานข้อมูลในเชิงสถิติ เพื่อให้ผู้บริหารได้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   โดยสิ่งที่ทำให้เราสามารถทำอย่างนั้นได้เพราะเราสามารถถอดรหัส NMEA เพื่อที่จะนำข้อมูลของรือมาแสดงบนแผนที่ได้ จากนั้นระบบเราสามารถกำหนดนโยบาย และกฏต่าง ๆ ได้ตามที่ท่านต้องการ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นโปรแกรมที่พัฒนาด้วยทีมงานคนไทย ทำให้ไม่เสียดุลการค้าต่างประเทศ และเราสามารถปรับจูนระบบให้เข้ากับนโยบายของประเทศมากกว่าต่างชาติ และในกรณีที่ข้อมูล นั้นเป็นความลับของประเทศเราสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปเข้ารหัสเพื่อรักษาความลับได้อีกด้วย