ระบบบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นระบบที่ใช้วางแผนในการทำงานของทีมงาน, บันทึกการลงเวลาทำงานของทีมงาน, ตรวจสอบการบันทึกเวลาทำงานว่าตรงกับแผนหรือไม่, แก้ไขการลืมลงเวลา และคำนวณเวลาทำงานล่วงเวลา, สาย, ขาด, ลา ของพนักงาน และสุดท้ายคือส่งต่อข้อมูลสรุปการทำงานของพนักงานไปยังระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบคำนวณเงินเดือน, ระบบประเมินผลการทำงาน เป็นต้น แต่ด้วยธุรกิจแต่ละประเภทมีลักษณะในการวางแผนการทำงานให้กับทีมงานแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ ทำให้ระบบ Time Attendance ของ myHR จึงมีความสามารถที่หลากหลาย เพราะด้วยเราผ่านประสบการณ์ในการทำงานในทุกรูปแบบ และเรายังออกแบบให้เขียนสูตร เพื่อใช้ในการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ของรายได้ และเงินหักในการทำงานที่ต่างเวลา, ต่างหน้าที่, ต่างสถานที่ และต่างระดับกันได้ เรามีความมั่นใจว่าระบบ Time Attendance ของเรารองรับการบันทึกเวลาทำงานของธุรกิจได้ทุกประเภทและหลากหลาย อาทิเช่น
โรงงานที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่จะมีการทำงานแบบหลายกะ กะเช้า กะบ่าย หรือกะดึก การทำงานควบกะจะมีระบบการสร้างใบเปลี่ยนกะให้อัตโนมัติ, การทำล่วงเวลาแบบ Fix, การเปลี่ยนกะ หรือแลกกะ อาจจะมีกำหนดให้พนักงานพลัดกันไปพักเพราะสายการผลิตหยุดไม่ได้ และมีการป้องกันไม่ให้พนักงานทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดต่อสัปดาห์ เป็นต้น
ร้านอาหารที่มีจำนวนสาขามาก ๆ แต่ละสาขามีขนาดไม่เท่ากัน และมีการเปิด-ปิดตามเจ้าของสถานที่เช่นห้างสรรพสินค้า หรือปั๊มน้ำมัน ด้วยช่วงเวลาในการเปิด-ปิดนั้นส่วนใหญ่มากกว่า 8 ชั่วโมงทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการจัดแผนการทำงานของทีมงานเป็นหลายกลุ่ม อีกทั้งยังต้องมีการคำนึงถึงจำนวนลูกค้าในช่วงเวลาของแต่ละวัน หรือถ้าเป็นวันหยุดพิเศษประจำปี อาจจะทำให้ปริมาณลูกค้าแตกต่างกัน เช่นวันปีใหม่, วันสงกรานต์ เป็นต้น ยังมีปัจจัยอื่นอีกเช่นในร้านอาหารอาจจะมีพนักงานในหลายตำแหน่งที่ไม่สามารถทำงานทดแทนกันได้ ซึ่งเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้จัดการร้านจะเป็นผู้ที่ต้องจัดการแผนการทำงานให้กับพนักงานในร้านสาขาทุกคน และสรุปยอดเวลาการทำงานในแต่ละงวดเพื่อนำส่งสำนักงานใหญ่เพื่อคำนวณเงินเดือน
โรงแรมจะเป็นธุรกิจที่มีลักษณะการทำงานเป็นฤดู เช่นฤดูท่องเที่ยวต้องใช้คนทำงานมาก นอกฤดูท่องเที่ยวใช้คนทำงานน้อยลง ดังนั้นจะมีการให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดในช่วงฤดูท่องเที่ยว แต่ให้ไปหยุดในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Compensate OT หรือ Compensate Day Off
โรงพยาบาลจะเป็นองค์กรที่เปิดให้ทางหัวหน้าพยาบาลในแต่ละ Ward สามารถจัดเวรให้กับทีมงาน Ward ของตนเองที่รับผิดชอบได้ ซึ่งในการจัดเวรนั้นจะต้องมีกฏ หรือเงื่อนไขในการจัดเวรให้ทีมงานในแต่ละคนนั้นได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเช่น ต้องมีคนที่มีความเชี่ยวชาญครบในแต่ละช่วงเวลา, ต้องมีจำนวนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ต้องดูแล, ต้องไม่มีคนที่ทำงานติดต่อกันนานเกินไป, ต้องเฉลี่ยการจัดเวรให้ทุกคนได้ทำงานอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น และต้องมีระบบ AI ที่จะช่วยจัดตารางเวรใน Ward นั้นให้อัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนดเบื้องต้น เพื่อลดเวลาในการทำงานของทุกฝ่ายด้วย
ธุรกิจ Professional Service คือธุรกิจที่ต้องส่งพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไปดูแลลูกค้าที่สถานที่ลูกค้าเช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย, แม่บ้าน, ช่างซ่อมลิฟท์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ และที่ปรึกษา ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบจับเวลาทำงานของทีมงานที่เข้าไปทำงานยังที่ทำการลูกค้าว่าได้ไปทำงานครบตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ หรือถ้าเกิดเหตุใด ๆ ฉุกเฉิน จะต้องส่งทีมงานใหม่เข้าไปทดแทนทีมงานเดิมให้ตรงตามเวลาทันท่วงที เพื่อให้การบริการลูกค้าไม่ขาดตกบกพร่องเป็นสำคัญ อีกทั้งยังต้องมีรายงานสรุปเวลาการทำงานของทีมงานกับลูกค้าแต่ละราย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวางบิลเก็บเงินอีกด้วย